ออนไลน์บ้านผือนิวส์

หน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยเดินมาถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง



หน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยเดินมาถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นวาระดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรวมเวลาเกิน 8 ปีตามมาตรา170 วรรคสองและมาตรา 158 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญ 2560 หรือไม่ โดยคาดว่ากระบวนการพิจารณาจะแล้วเสร็จภายในเดือน 1 เดือน



ขณะที่ ‘วิษณุ เครืองาม’ รองนายกรัฐมนตรีมือกฎหมายชั้นพญาครุฑอธิบายขั้นตอน หากศาลสั่งให้ นายกฯหยุดปฎิบัติหน้าที่พล.อประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีจะทำหน้าที่รักษาการแทนและปฎิบัติหน้าที่ร่วมกับ ครม.รวมถึงพล.อ.ประยุทธ์ ยังปฎิบัติหน้าที่ในฐานะรมว.กลาโหมได้และขอความร่วมมือฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำปฎิบัติหน้าที่ไปตามปกติ เพราะการพิจารณาและวินิจฉัยของศาลจะไม่กระทบความสมบูรณ์ใดๆของการบริหารราชการ



ทั้งนี้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 วางหลักปฏิบัติเพื่อไม่ให้การบริหารประเทศเกิดสุญญากาศ

โดยเมื่อวันที่ 13 ส.ค.2563 ที่ประชุม ครม.มีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกฯ ตามลำดับคือ
(1)พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
(2)นายวิษณุ เครืองาม
(3)นายอนุทิน ชาญวีรกูล
(4)นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
(5)นายดอน ปรมัตถ์วินัย
(6)นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

ADVERTISEMENT

ทั้งนี้จากการเปิดบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทย พล.อ.ประยุทธ์ เคยถูกฝ่ายค้านและกลุ่มต้าน ลากเข้าเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นเกี่ยวกับคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งนายกฯหลายครั้ง

ทว่าทุกครั้ง พล.อ.ประยุทธ์ แคล้วคลาดอยู่รอดปลอดภัย เหมือนแมว 9 ชีวิตมีวิชาคงกระพันชาตรี ยกตัวอย่าง 3 เหตุการณ์สำคัญ

(1)ครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 ส.ค.2562 ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติเป็นเอกฉันท์ ส่งคำร้องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย กรณีนายภาณุพงศ์ ชูรักษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ยื่นคำร้องขอให้พิจารณากรณี พล.อ. ประยุทธ์ และ ครม.ถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ร้องเรียนหรือไม่

แต่ท้ายที่สุดเมื่อวันที่ 11 ก.ย.2562 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้องวินิจฉัยปมถวายสัตย์ โดยให้เหตุผลไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญใด

(2)ครั้งที่สอง วันที่ 28 มิ.ย.2562 ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้านยื่นคำร้องถึงประธานสภา ให้ส่งเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยประเด็น ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 (4) ประกอบมาตรา 160 (6) และมาตรา 98 (15) หรือไม่ เพราะเหตุเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

ADVERTISEMENT

อย่างไรก็ตามวันที่วันที่ 18 ก.ย.2562 ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยชี้ขาดพล.อ.ประยุทธ์ ไม่มีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งนายกฯเนื่องจาก หัวหน้าคสช. ไม่ใช่ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ เพราะ มาจากการยึดอำนาจ และเป็นตำแหน่งรัฏฐาธิปัตย์ไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของหน่วยงานรัฐไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ

(3)ครั้งที่สาม วันที่ 9 มี.ค.2563 ส.ส.ฝ่ายค้าน เข้าชื่อยื่นคำร้องถึงประธานสภา ให้ส่งเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) หรือไม่ จากกรณีกระทำการขัดกันแห่งผลประโยชน์อาศัยในบ้านพักค่ายทหารหลังเกษียณ

จากนั้นวันที่ 2 ธ.ค.2563 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ขาดคุณสมบัติความเป็นนายกฯอยู่บ้านพักหลวงไม่ผิดกฎหมาย เนื่องจากเป็นไปตามระเบียบกองทัพบก และ รัฐพึงต้องจัดบ้านพักรับรองให้นายกฯอยู่อย่างสมเกียรติเพื่อสร้างความพร้อมทั้งสุขภาพกาย และจิตใจ การปฏิบัติภารกิจในการบริหารประเทศ

นับตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 2557 ซึ่งเป็นวันที่ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ พล.อ.ประยุทธ์ หัวหน้าคสช.ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรกจวบจนถึงนาทีนี้ ปมร้อนวาระ 8ปีถือเป็นมรสุมลูกแรกที่สั่นคลอนเก้าอี้นายกฯของพล.อ.ประยุทธ์ อย่างเด่นชัดและเป็นรูปธรรมมากที่สุดในรอบ8ปี

บทสรุปจะเป็นเช่นไรต้องตามติดชนิดไม่กะพริบตา!... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1394283/

</p>{Fullwidth}

Please Select Embedded Mode To Show The Comment System.*

ใหม่กว่า เก่ากว่า

สื้อโฆษณา

ออนไลน์บ้านผือนิวส์