ออนไลน์บ้านผือนิวส์

พรรคเล็กแถลงจุดยืน การคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ

 


พรรคเล็กแถลงจุดยืน การคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. อันเนื่องมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ที่จะแยกการลงคะแนนระหว่างการเลือก ส.ส.เขตและการเลือกพรรค เพื่อนำไปคำนวณหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ซึ่งจะว่าไปแล้วการนับคะแนนแบบสัดส่วนผสมที่เคยใช้กับการเลือกตั้งที่ผ่านมาสร้างปัญหาให้กับผู้สมัครมากที่สุด การใช้วิธีคำนวณจากคะแนนเฉลี่ยของ ส.ส.ทุกคนทุกพรรคมาหาคะแนน ส.ส.พึงมี ทำให้เกิดความยุ่งยากและไม่มีความแน่นอน การเลือกตั้งซ่อมแต่ละครั้งทำให้คะแนนสัดส่วนเปลี่ยนแปลงและกระทบกับพรรคเล็กที่มีคะแนนต่ำกว่าคะแนนกลาง ต้องชักเข้าชักออก ประกาศรับรองเป็น ส.ส.แล้วต้องหลุดจาก ส.ส.สัดส่วนไม่ทันตั้งตัว วุ่นวายไปหมด

มาคราวนี้ก็จะมีปัญหาเรื่องการคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่ออีกรอบ โดยเฉพาะที่ พรรคเล็ก ที่ต้องการให้นำ 500 คือจำนวน ส.ส.ทั้งสภามาหารเพื่อจะทำให้มีคะแนนที่เป็นตัวหารลดลงจะทำให้พรรคเล็กที่มีคะแนนเลือกพรรคต่ำอยู่แล้วจะได้มีโอกาสได้รับเลือกเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมากขึ้น ถ้าเอา 100 คือจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อในสภามาหาร โอกาสที่ได้เป็น ส.ส.คงน้อยไปอีกอย่างน้อยจะต้องได้คะแนนพรรคไม่ต่ำกว่า 3 แสนเสียง จึงจะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยมากที่พรรคจะได้คะแนนดังกล่าว

เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ นิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคชาติไทยพัฒนาในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ยืนยันว่า ในฐานะที่เป็นกรรมาธิการยกร่างฯที่รัฐบาลเป็นผู้เสนอ ได้เสนอว่า ต้องหารด้วย 100 จากร่างที่สภารับไว้ 4 ร่าง ก็เสนอให้หารด้วย 100 ทั้งหมด โดยวิธีเอาคะแนนรวมของพรรคการเมืองทั้งหมดมาหารด้วย 100 แต่ถ้าอยู่ๆจะมาเสนอให้หารด้วย 500 ซึ่งไม่ได้มีบรรจุเอาไว้ในร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯที่เสนอเข้ามาพิจารณาในสภาแล้วไปใส่เข้าไปก็จะเป็นการขัดกับรัฐธรรมนูญทันที และจะกลายเป็นปัญหาที่จะกระทบไปถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ด้วย

นอกจากนี้ การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา มีการแก้ไขมาตรา 91 ที่ได้มีการตัดเรื่องของการคิดคะแนนแบบสัดส่วนผสมออกไปแล้ว ดังนั้น มาตรา 93 และ 94 ที่อ้างว่าเป็นการคิดสัดส่วน ส.ส.พึงมี ก็เป็นส่วนที่ใช้ไม่ได้แล้ว และตอนนี้เราต้องใช้บัตรเลือกตั้งสองใบแล้วไม่ใช่บัตรเลือกตั้งใบเดียว จะไปใช้สูตรการคำนวณแบบเดิมจึงไม่ถูกต้อง การจะยก ส.ส.พึงมีมาอ้างก็ไม่ได้อีก

เจตนารมณ์ของกรรมาธิการวิสามัญฯคือต้องหารด้วย 100

สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นหลัก คือการแก้ไขกฎหมายแล้วเป็นการขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าเป็นการขัดกับรัฐธรรมนูญก็ยิ่งไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย เพราะถ้ามีการตีความว่าเป็นการขัดกับรัฐธรรมนูญก็ยิ่งจะทำให้ปัญหาบานปลายมากขึ้น

ตามกำหนดแล้ว พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. จะต้องพิจารณากันให้เสร็จภายในวันที่ 20-22 พ.ค. และวันที่ 24 พ.ค.จะต้องยื่นให้กับประธานสภา เพื่อบรรจุในวาระพิจารณาให้เรียบร้อย

ส่วนถ้าไม่เรียบร้อย ผลกระทบจะมีไปถึงรัฐบาลที่เป็นเจ้าของร่างฯด้วยขนาดไหน ห้ามกะพริบตา.


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ข่าวแนะนำ

{fullwidth}

Please Select Embedded Mode To Show The Comment System.*

ใหม่กว่า เก่ากว่า

สื้อโฆษณา

ออนไลน์บ้านผือนิวส์