ออนไลน์บ้านผือนิวส์

วิธีแจ้งไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 พบไม่มีเหตุอันควร โดนจำกัดสิทธิอะไรบ้าง


วิธีแจ้งไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 พบไม่มีเหตุอันควร โดนจำกัดสิทธิอะไรบ้าง

  • วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เช็กเลยใครมีสิทธิ - ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง
  • วิธีแจ้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 ผ่านช่องทางออนไลน์
  • ไม่แจ้ง หรือ แจ้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่พบไม่มีเหตุอันควร โดนจำกัดสิทธิอะไรบ้าง

หลังจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพฯ ในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ซึ่งในครั้งนี้มีผู้ลงสมัครที่น่าจับตามองอยู่หลายคนที่ต้องการเข้ามาทำงานเพื่อพัฒนากรุงเทพฯ โดยผู้ที่จะมีสิทธิเลือกตั้งนั้นจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

คุณสมบัติ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

1. มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง
3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง
4. คุณสมบัติอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

ในกรณีที่มีการย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตเลือกตั้งหนึ่งไปยังอีกเขตเลือกตั้งหนึ่งภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน อันทำให้บุคคลมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกัน น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง ให้บุคคลนั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้ายเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี

เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.

ลักษณะเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

1. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช
2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
4. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
5. มีลักษณะอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด


วิธีแจ้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม.

กรณีมีเหตุอันสมควร

ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อ กกต. ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้งหรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้งให้ดำเนินการแจ้งตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยการแจ้งเหตุดังกล่าวไม่เป็นการตัดสิทธิที่ผู้นั้นจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

การแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเป็นหนังสือหรือโดยวิธีการอื่นเพื่อชี้แจงเหตุดังกล่าว โดยอาจมอบหมายให้บุคคลใดไปยื่นต่อ กกต. แทน หรือจัดส่งหนังสือชี้แจงเหตุทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

ในกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแจ้งนั้นมิใช่เหตุอันสมควร ให้แจ้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบภายใน 3 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเหตุ โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ได้รับแจ้ง มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อ กกต. ประจำจังหวัดภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง

สำหรับการแจ้งเหตุด้วยวิธีการแจ้งเหตุทางอิเล็กทรอนิกส์ บุคคลที่จะรับแจ้งเหตุ สถานที่รับแจ้งเหตุ การพิจารณาการแจ้งเหตุ และการอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กกต. กำหนด โดยในการกำหนดดังกล่าวให้คำนึงถึงการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนด้วยในการนี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดรายละเอียดของเหตุที่ทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาของบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งด้วย

ขั้นตอนการแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิทางอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้

1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้แจ้งเหตุจำเป็นภายใน 7 วัน ก่อนวันเลือกตั้งหรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง ผ่านทางช่องทาง ดังนี้

  • เว็บไซต์ www.bora.dopa.go.th หรือ www.ect.go.th 
  • แอปพลิเคชัน Smart Vote หัวข้อ "การแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์"

เตือน 4.4 หมื่นคน ย้ายเขตไม่ถึง 1 ปี รีบแจ้งชื่อ เพื่อมีสิทธิ์เลือกตั้ง ส.ก.

สื่อโฆษณา

เตือน 4.4 หมื่นคน ย้ายเขตไม่ถึง 1 ปี รีบแจ้งชื่อ เพื่อมีสิทธิ์เลือกตั้ง ส.ก.

ปลัดกรุงเทพมหานคร เตือน 4.4 หมื่นคน ที่ย้ายเขตไม่ถึง 1 ปี รีบแจ้งเพิ่มชื่อ ต่อนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้าย เพื่อมีสิทธิเลือกตั้ง ส.ก. ได้ถึงวันที่ 11 พ.ค.นี้

วันที่ 4 พ.ค. 65 นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 นี้ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ประมวลผลเพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และพบว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ในบัญชีรายชื่อระบุมีสิทธิเลือกตั้งเฉพาะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพียงอย่างเดียว มีจำนวนประมาณ 44,200 คน

เนื่องจากเป็นผู้ที่ย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตเลือกตั้งหนึ่งไปยังอีกเขตเลือกตั้งหนึ่งภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน และเป็นเหตุให้มีชื่อในทะเบียนบ้านปัจจุบันเป็นเวลาน้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือกตั้ง

ทั้งนี้ หากกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งดังกล่าว ประสงค์ที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ไปยื่นคำขอเพิ่มชื่อ ตามแบบ ส.ถ.1/7 ต่อนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้าย เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ทั้งนี้ ภายในวันที่ 11 พฤษภาคม 2565

สำหรับคุณสมบัติสำคัญของผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ประกอบด้วย
- มีสัญชาติไทย หากแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง คือเกิดก่อนวันที่ 24 พ.ค. 2547
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตรวจสอบรายชื่อของตนเอง พร้อมหน่วยเลือกตั้งและสถานที่เลือกตั้งให้เรียบร้อย จากหนังสือแจ้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งสำนักงานเขตได้จัดส่งให้ หรือตรวจสอบได้ทางเว็บไซต์ https://stat.bora.dopa.go.th หากพบว่าชื่อของตนเองหรือบุคคลในครอบครัวไม่ถูกต้องให้รีบแจ้งสำนักงานเขตที่ซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งภายในวันที่กำหนด.

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

สนับสนุนโดย

เลือกตั้งผู้ว่ากทม



 

ข่าวแนะนำ

 

 

 

Please Select Embedded Mode To Show The Comment System.*

ใหม่กว่า เก่ากว่า

สื้อโฆษณา

ออนไลน์บ้านผือนิวส์